ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจเยี่ยม ดูรายละเอียดการตายของเสือโคร่งที่ตายรวม 2 แห่ง 86 ตัว เตรียมวางแผนผ่าตัดและสร้างyardให้เสืออาศัย วันนี้ ( 16 ก.ย. 62 ) นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายประยงค์ จันทเต็ง นายอำเภอจอมบึง สัตวแพทย์หญิงวรรณี วัฒนพงศ์ชาติ ปศุสัตว์จังหวัด สัตวแพทย์หญิงสุพภาพร จ๋วงพานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันตก จ.ราชบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เพื่อขอดูรายละเอียดกรณีเสือโคร่งที่ย้ายมาจากวัดป่าหลวงตามหาบัว จ.กาญจนบุรี ทยอยล้มตาย นายบรรพต มาลีหวล หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ให้ข้อมูลว่า สำหรับเสือโคร่งที่รับมาดูแลแยกเป็น 2 แห่ง สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง ได้ทยอยขนมาชุดแรกเมื่อวันที่ 28 ม.ค.59 จำนวน 5 ตัว ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2559 จำนวน 5 ตัว และชุดที่ 3 วันที่ 2- 4 มิ.ย.59 จำนวน 75 ตัว จำนวน 85 ตัว อีกส่วนนำไปเลี้ยงดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ต.รางบัว อ.จอมบึง จำนวน 62 ตัว รวมทั้งหมด 147 ตัว หลังจากนำมาดูแลเสือได้ทยอยล้มตายทั้ง 2 แห่งรวมแล้วจำนวน 86 ตัว จากภาวะการเคลื่อนย้ายครั้งหลังสุดที่ไม่ปกติ ทำให้มีผลกระทบตัวเสือโคร่งโดยตรง เสือเกิดความเครียดมีปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการขนย้ายนั้นทางสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติฯจะเข้าไปประเมินสุขภาพเบื้องต้นก่อน พร้อมกับเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสุขภาพของเสือแต่ละตัวว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน โดยหลังจากขนย้ายเสร็จแล้วก็จะให้สัตวแพทย์ที่ขนย้ายกับสัตวบาลประจำสถานีเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของเสือที่มาอยู่ใหม่เป็นเวลา 30 วัน พบว่าเสือโคร่งจำนวน 40 ตัว มีอาการหอบ หายใจดังติดขัด มีอุจจาระเหลว สีคล้ำจนถึงดำถือว่ายังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสาเหตุใด เรื่องการหายใจเสียงดังหอบเป็นภาวะทางระบบทางเดินหายใจ ส่วนเรื่องอึเหลวถึงดำอาจจะเป็นภาวะความเครียดได้ดูพฤติกรรมอาการไปครบ 30 วัน สามารถปรับพฤติกรรมการอยู่ในกรงเลี้ยงได้ เริ่มเข้ากับคนเลี้ยงและกรงใหม่ได้ หลังจากนั้นมีการดูแลอย่างต่อเนื่องตามหลักวิชาการโดยมีสัตวแพทย์คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่วนเรื่องการตายนั้น หลังจากที่เลี้ยงเสือมาพบเสือโคร่งตัวแรกที่ขนย้ายมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ตายวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีระยะห่างประมาณ 3 เดือน ก็ตายตัวแรก จึงได้ให้สัตวแพทย์ผ่าชันสูตรว่าตายด้วยสาเหตุใด หลักๆเจอเรื่องลิ้นกล่องเสียงบวม หรือจะเรียกว่าอัมพาตลิ้นกล่องเสียง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในภาวะอากาศร้อนหรือมีความเครียดสูง เวลามีอากาศร้อนตัวลิ้นกล่องเสียงจะบวมแล้วจะปิดแล้วทำให้สัตว์หายใจลำบาก จะมีอาการชัก ทุรนทุรายและตายในที่สุดเป็นเสือตัวแรกที่ตาย มีการส่งตัวอย่างไปตรวจที่ศูนย์พัฒนาการสัตวแพทย์ตะวันตก อ.โพธาราม ช่วงนั้นยังไม่ได้สงสัยอะไรมากนัก แค่ตรวจว่ามีเชื้อระบาดหรือไม่ จนมาทยอยตายได้ประมาณ 1 ปี โดยช่วง 1 ปี จะตายติดต่อกัน 2 ตัว เลยสงสัยเนื่องจากมีอาการตายเหมือนกัน จึงปรึกษาทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอนำซากทั้งตัวไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการตรวจออกมาแจ้งมาว่า นอกจากอาการของอัมพาตลิ้นกล่องเสียงยังมีภาวะการได้รับเชื้อไข้หัดสุนัขร่วมด้วย หลังจากนั้นก็เริ่มมีการทยอยตายลงเรื่อยๆ เดือนละ 1-2 ตัว บางเดือนก็ไม่มีการตาย นอกจากนี้ยังได้พบไข้หัดสุนัขอยู่ประมาณจำนวน 11 ตัว แต่ระหว่างที่ทางมหาวิทยาลัยมหิดลมาตรวจพบเชื้อตัวแรกทางทีมงานศูนย์เฝ้าระวังระบาดโรงของมหาวิทยาลัยมหิดลลงพื้นที่เพื่อสุ่มตรวจโรคว่ามีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมได้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลรักษา ช่วงนี้จึงมีการรักษาอย่างต่อเนื่องของเสือ 11 ตัวนี้ประมาณ 1 ปี ซึ่งได้ดูแลรักษาให้ยาสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวสัตว์ได้ เพราะโรคภาวะติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มีทางรักษา อาการเกิดโรคจะไม่หายทำอย่างไรให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันที่สามารถต้านเชื้อไวรัสตรงนี้ได้ คล้ายกับคนเป็นหวัดคือมีอาการแพ้ ก่อนตายจะได้รับอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เสือจะมีอาการแพ้และจะมีลิ้นกล่องเสียงบวมทันทีและตัวนี้ก็จะให้ยาไป จนเกิดตัวถัดไป ช่วงเดือน พย. 60 ตายประมาณตัวที่ 21 ตัวนี้จะผ่าชันสูตรซึ่งมีอาการเหมือนเดิม คือ อาการลิ้นกล่องเสียงบวม โดยผลการส่งไปตรวจพบว่ามีแต่ภาวะอัมพาตลิ้นกล่องเสียง แต่ไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หัดสุนัข หลังจากนั้นก็ได้ทยอยตายลงมาเรื่อย โดยอาการตรงนี้จะไม่หาย ซึ่งได้ทราบอาการของโรคนี้แล้วว่าโรคอัมพาตลิ้นกล่องเสียงการที่จะบรรเทาให้เสือสามารถอยู่มีชีวิตอยู่ได้ เราจะต้องพยายามสร้างภูมิคุ้มกัน และปัจจัยเรื่องอากาศร้อนหรือความเครียดต่างๆ ได้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ กรณีเรื่องความร้อนได้พยายามติดสปริงเกอร์ พร้อมไอพ่นหมอกให้บริเวณกรง และพยายามให้คนเข้าไปน้อยที่สุด เพื่อลดความเครียดของสัตว์ สามารถที่จะช่วยชีวิตสัตว์นี้ได้ ระหว่างนี้มีการวางแผนที่จะทำการผ่าตัดลิ้นกล่องเสียงการผ่าตัดโดยการทีมสัตวแพทย์ของกรมอุทยานฯร่วมกับทีมสัตวแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล จะมี 2 วิธี คือ ผ่าตัดยึดลั้งลิ้นกล่องเสียงให้เปิดเล็กน้อย และวิธีผ่าตัดโดยตัดเล็มตรงผนังตรงลิ้นกล่องเสียงเพื่อให้เปิด สัตว์จะได้หายใจได้สะดวก เวลามีการบวมก็ยังมีช่องหายใจอยู่ ยังไม่ปิดสนิท ก็จะลดภาวการณ์ตายลงได้ แต่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ จะช่วยได้ทางกายภาพ ได้ผ่าพิสูจน์ไปกว่า 10 ตัว ผ่าโดยวิธีตัดเล็มตรงผนังลิ้นกล่องเสียงแค่ 2 ตัว ซึ่งได้ดำเนินการมาตลอด แต่หากถามว่าโรคนี้มาอย่างไรคิดว่าตั้งแต่ก่อนที่เราจะเคลื่อนย้ายก็พบว่าสถานที่เลี้ยงเดิมจะมีพวกหมูป่า กวางป่า วัว ควาย เนื้อทราย นกยูงเลี้ยงปะปนแบบอิสระ แต่เสืออยู่ในกรงเลี้ยง กว้าง 6 คูณ 6 ด้านหลังจะมียาชให้เสือออกกำลัง แต่เวลานำเสือออกมาแสดงก็จะเดินผ่านไปในกลุ่มสัตว์เหล่านี้ ตรงนี้สามารถคาดเดาได้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ ดังนั้นการเกิดโรคนี้ยังไม่สามารถเกิดจากที่ไหน แต่เรามีระบบการป้องกัน การดูแลรักษาเป็นไปตามหลักวิชาการ เน้นสวัสดิภาพสัตว์เป็นหลัก ปัจจุบันทางกรมอุทยานฯได้กำชับให้มีการปรับปรุงกรงคอกให้มีขนาดที่เพียงพอในการที่จะเอาเสือมาอยู่ใน 1 กรง 1 ตัว พร้อมจัดทำอุปกรณ์เสริมสร้างสวัสดิภาพ ภายในกรงจะมีบ่อน้ำ มีอุปกรณ์ปีนป่าย พร้อมกันนี้ทางกรมฯก็ได้สนับสนุนงบประมาณในการทำยาชสำหรับเสือโคร่งเพิ่มเติมซึ่งเป็นยาชขนาดใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนอีกส่วนได้ทำยาชไปบางส่วนแล้วประมาณ 4-5 กรง เป็นยาชประมาณ 10 คูณ 10 เมตร ช่วยบรรเทาส่วนที่เสืออยู่เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีสวัสดิภาพที่ดี พยายามยื้อชีวิตให้นานที่สุด ใน 2 สถานีฯ ที่เลี้ยงเสือได้ทยอยตายลงมารวม 86 ตัว นางสาวลักษณา ประสิทธิชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า สำหรับที่อยู่ของเสือจะมีที่ให้หลบซ่อน ให้นอน หรือถ้าในส่วนที่มีการจับคู่เราก็จะใช้เป็นที่ผสมพันธุ์ เป็นที่คลอดลูก แต่ส่วนพื้นที่ Yard ( ยาช ) จะเป็นพื้นที่ที่ปล่อยออกมาเพื่อให้เสือได้ทำกิจกรรม แสดงพฤติกรรมให้มีวิ่งเล่น มีว่ายน้ำ แต่ถ้าสมมุติในเวลากลางคืนเก็บเสือเข้าไปในห้องนอน ซึ่งในยาชยังมีบ่อน้ำ มีต้นไม้พร้อมใส่ที่ลับเล็บไปด้วย พร้อมกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เสือได้อยู่เป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยพื้นที่ยาชจะเชื่อมต่อกรงอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อให้เป็นพื้นที่เหมือนกับสามารถเดินเข้าจากเสือตัวนี้ใช้พื้นที่แล้วจะปิดกรง วันรุ่งขึ้นอาจจะเป็นเสืออีกตัวที่ใช้พื้นที่ยาชส่วนนี้ได้อีก