สอน.จับมือภาคเอกชน หาทางรอดของชาวไร่อ้อย จากวิกฤตอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลไทย ที่ราคาตกต่ำ เน้นลดเผาอ้อย “ช้างแทรกเตอร์” หนุนรับช่วยชาวไร่อ้อย แก้ปัญหาขาดแรงงาน และเพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลกอย่างยั่งยืน จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ หน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน 3 สมาคมหลัก อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งโรงงานน้ำตาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 แห่ง ร่วมสนับสนุนการจัดงาน Sugarex Thailand 2019 โดยมี นายสมพล โนดไธสง รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และ Mr. Nong Guang ประธานสมาคมกว่างซีจ้วง ชูการ์ อินดัสทรี่ ร่วมเปิดงาน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (KICE) จังหวัดขอนแก่น เมื่อเร็วๆ นี้ คุณปุณฑริกา แสนฤทธิ์ ผู้จัดการบริษัท ไฟร์เวิร์คส มีเดีย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า เป็นการจัดงานครั้งแรกในพื้นที่ภาคอีสาน เพราะเชื่อว่า เป็นภาคที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตร อีกทั้งเป็นภาคที่ มีโรงงานน้ำตาลทราย ถึง 21 แห่ง มากที่สุดในประเทศไทย เป็นแหล่งพื้นที่เกษตรกรรม เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศ และยังมีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพปลูกอ้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การจัดงาน Sugarex Thailand 2019 เป็นการรวมตัวของนักวิชาการ ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม นักลงทุน คู่ค้า ทั้งในประเทศ และต่างประเทศแถบทวีปเอเชีย โดยเฉพาะเครื่องจักรและเทคโนโลยีนวัตกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล นอกจากนี้ ยังได้รับฟังการเสวนาเพื่อเสริมสร้างความรู้สู่ความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในหัวข้อ “ทางรอดของชาวไร่อ้อย จากวิกฤตอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลไทย ที่ราคาตกต่ำ” เน้นย้ำ “มาตรการแก้ปัญหาเผาอ้อย” ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรชาวไร่อ้อย การจัดงาน Sugarex Thailand 2019 จึงเป็นการสร้างประสิทธิภาพ ในวงการธุรกิจน้ำตาล และอ้อย ให้เทียบเท่าระดับสากล คุณปุณฑริกา กล่าว นายวรกันต์ หงส์กา ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ช้างแทรกเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ในฤดูการตัดอ้อย ปัญหาของผู้ประกอบการ คือ ไม่มีแรงงานที่จะมาสางใบอ้อย ดังนั้น ถ้าไม่เผา ก็ไม่มีแรงงานตัด และยังมีปัญหาการขาดแรงงาน เมื่อจำเป็นต้องเร่งตัดในช่วงปลายฤดูกาล จำเป็นต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรชาวไร่อ้อยเช่นเดียวกัน เชื่อว่า ปัญหาแรงงาน และปัญหาการเผาอ้อย จะหมดไป เมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการสนับสนุน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร และได้ขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562 – 2564 โดยให้ ธนาคาร ธ.ก.ส. เตรียมวงเงินกู้รวม 6,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย หรือ กลุ่มบุคคลและวิสาหกิจชุมชน วงเงินกู้ปีละ 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ในอัตราดอกเบี้ย 2% เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ นำไปซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่อท้ายแทรกเตอร์ อาทิ เครื่องสางใบอ้อย เครื่องตัดอ้อย และอื่น ๆ ที่ใช้ในการปลูกและบำรุงรักษาอ้อย เป็นแนวทางในการช่วยเพิ่มผลผลิต รักษาคุณภาพผลผลิตอ้อย ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกทั้ง ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระยะยาว ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น นับเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย และเพิ่มขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลกอย่างยั่งยืน นายวรกันต์ กล่าวต่อว่า อยากให้เกษตรกรได้ศึกษาการใช้งานของเครื่องจักรกล ที่จะเป็นตัวช่วยเพื่อแทนแรงงานที่ขาดแคลนได้ อาทิ เครื่องสางใบอ้อยที่จะช่วยกำจัดใบอ้อยซึ่งเป็นอุปสรรคและปัญหาอันดับแรกของแรงงาน จากนั้น ใช้เครื่องตัดอ้อย เป็นเครื่องช่วยในการทำงานแบบรวดเร็ว สะดวก ไม่เสียเวลา โดยมีรุ่น และขนาดให้เลือกเพื่อ ความเหมาะสมกับพื้นที่การใช้งานจริง เชื่อว่า การใช้เครื่องสางใบอ้อย และเครื่องตัดอ้อย จะทำให้หมดปัญหา การขาดแรงงาน หมดปัญหาการเผาอ้อย เพราะเครื่องสางใบ และเครื่องตัดอ้อย จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการตัดอ้อยได้ทันตามกำหนด และไม่ทำให้คุณค่าของผลผลิตจากอ้อยเสียไปอีกด้วย “จากการคำนวณ การใช้เครื่องสางใบและเครื่องตัดอ้อย ระยะเวลาการทำงานใน 1 ชม. สามารถตัดอ้อยได้ถึง 2 ไร่ หรือ 40 ตันต่อ1พ่วง ในระยะเวลา8 ชม. สมารถตัดอ้อยได้ 2 พ่วง หรือ 80-100 ตัน จึงเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 8 เท่า เพราะการใช้แรงงานคนต้นทุน 120 บาทต่อตัน แต่การใช้เครื่องทุ่นแรง ต้นทุนจะอยู่ที่ 20 บาทต่อตัน ดังนั้น การใช้เครื่องจักรทำงาน จึงเป็นการแก้ปัญหาชาวไร่อ้อยอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ประกอบการชาวไร่อ้อยที่สนใจเครื่องจักรเพื่อการเกษตร สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หจก. เอ็ม.ที. แทรกเตอร์ชุมแพ 59 ม.1 ถ.มะลิวรรณ ต.ไชยสอ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น โทรศัพท์ 081 873 2390 หรือ www.changtractor.com” นายวรกันต์ กล่าว.