การทำเกษตรอินทรีย์ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมี มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยได้นำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ ถือเป็นแนวทางหนึ่ง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงบำรุงดินได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินในฐานะหน่วยงานหลัก ที่ดำเนินงานด้านการพัฒนาปรับปรุงดิน ได้จัดตั้ง “ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์” ขึ้น มุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้จากไร่นาหรือครัวเรือนมาแลกเปลี่ยนกลับไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ดังเช่น จังหวัดเพชรบุรี ที่ได้จัดตั้ง โรงงานต้นแบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถมาแลกเปลี่ยนปุ๋ยอินทรีย์ ไปใช้ในการทำการเกษตร เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทรัพยากรดินที่มีอยู่ ถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน และขาดการดูแลรักษาที่ดี ทำให้เกิดความเสื่อมโทรม จึงใช้ประโยชน์จากดินในการปลูกพืชนั้นได้ไม่เต็มที่ ซึ่งวิธีที่จะรักษาคุณภาพดินและฟื้นฟูให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องพึ่งพาและให้ความสำคัญต่อการเกษตรธรรมชาติ เกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีที่ต้นทุนสูง ซึ่งจะแก้ความเสื่อมโทรมให้กับดินในระยะยาว นายเจษฎา สาระ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี กล่าวว่า ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรนำวัสดุที่เหลือใช้ ในไร่นา กลับนำมาใช้ใหม่ เมื่อเป็นปุ๋ยแล้วต้องการให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นปุ๋ยหมัก เป็นสิ่งที่ช่วยให้โครงสร้างดินร่วนซุยขึ้น เพราะในจังหวัดเพชรบุรี บริเวณหนองหญ้าปล้อง แถวนี้จะเป็นดินลูกรัง ดินตื้น ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นมาก การนำมาแลกเรามีหลายที่ ตั้งแต่หนองหญ้าปล้อง แล้วก็บ้านลาด แก่งกระจาน โดยใช้วัสดุที่มีในพื้นที่ เช่นมูลโค ใบไม้ ที่เรามาใช้กันอยู่ นายสธน สมานมิตร หมอดินอาสา กล่าวว่า การจะทำปุ๋ยหมัก จะต้องหาอินทรียวัตถุ เช่น กากอ้อย แกลบ ซังข้าวโพด ประกอบไปด้วยมูลสัตว์ นำขี้วัวมาใช้ ขี้ไก่ 2-3 ชนิด ก็มาผสมกันใช้เป็นปุ๋ยหมัก ตั้งกองให้สูง 1 เมตร หลังจากนั้นก็ให้น้ำ มีความชื้น ก็ใช้สาร พด.1 ของพัฒนาที่ดิน ผสมน้ำและก็ราดลงไป อันนี้จะทำให้เราได้ปุ๋ยที่ไวขึ้น รวบรัดเวลาที่ไวขึ้นประมาณ 3 เดือน ถ้าเราไม่ใช้พด.1 นานมากกว่าจะเป็นปุ๋ย พอเราหมักแล้ว ทุกๆ 7 วันเราต้องกลับกอง เพื่อระบายความร้อนในกองปุ๋ย ด้วยเหตุที่จุลินทรีย์กำลังเริ่มทำงาน ปุ๋ยก็จะเกิดความร้อน พอเกิดความร้อนเราต้องระบาย ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนปุ๋ยอินทรีย์ กับชาวบ้านที่นำมาแลกนั้น ส่วนใหญ่สถานีพัฒนาที่ดินจะจัดมาให้ ว่าน้ำหมัก 1 ลิตร ควรจะเอาเนื้อปลามากี่กิโล เฉพาะพด.2 หรือที่นำขี้วัวมา 1 กระสอบ ก็ดูตามตาราง ถ้าเราจำก็จำไม่หมด เช่นคนนี้เอาแกลบมาเขาจะได้ปุ๋ยหมักเท่าไหร่ เพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนมันไม่เท่ากัน อย่างขี้ไก่เนี่ยราคาแพง เขาก็ต้องได้ปุ๋ยไปมากกว่า ในอัตราที่เท่ากันเช่นเอา มาอย่างละ 10-10-10-10 ปุ๋ยจะได้ไม่เท่ากันและ ขี้วัว 10 ขี้วัวถูกกว่า ก็จะได้ปุ๋ยไปน้อยกว่า ส่วนมากแล้วเกษตรกรไม่ค่อยชอบการแลกเปลี่ยน สมาชิกไม่ค่อยนิยม ถ้าไม่ทำเองเนี่ย เขาก็จะซื้อไปเลย แต่ก็มีเกษตรกรหลายคนก็พยายามจะแลกเปลี่ยน ถ้ามีมูลสัตว์เยอะๆ รวบรัด วันนี้พรุ่งนี้จะใช้ปุ๋ยแล้ว ก็เอามูลสัตว์มาแลกเปลี่ยนกันปุ๋ยเคมีไม่ใช่ไม่ดี แต่เมื่อใช้แล้วไม่มีอินทรียวัตถุ ดินจะเสื่อม ฉะนั้นเราจะแนะนำเขา ว่าเมื่อใช้เคมีแล้ว ควรจะใช้อินทรีเข้าไปด้วย อย่างน้อยถ้าดินไม่เสื่อมก็ชะลอการเสื่อม นายองอาจ ทองประเสริฐ เจ้าพนักงานการเกษตรอาวุโส กล่าวว่า เกษตรกรลดสารเคมีได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็น ต้องค่อยๆ ลดไป เพราะพืชเสพติดกับเคมีไปแล้ว เมื่อก่อนเรามีการส่งเสริมให้ใช้เคมีเพิ่มผลผลิต ทีนี้ดินเราก็แย่ ไม่มีการปรับปรุงดินมีแต่การใช้เคมี พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้หมด พวกเคมีก็ตกค้างในดิน ทำให้ดินเป็นกรด ดินเป็นกรดเราก็เอาโดโลไมท์ มาแก้ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรีให้มีการเก็บตัวอย่างดินมาตรวจทุกครั้งทุกปี เพื่อจะดูว่าดินของเรามีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมั้ย ตอนนี้เราปรับปรุงบำรุงดินได้ดีเกินครึ่ง ตอนนี้ทางกลุ่มได้ผลิตปุ๋ยเคมีแค่ให้สมาชิกใช้ และตลาดข้างนอกก็มาใช้ได้ถ้าเกษตรกรสนใจการทำธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตร ให้มาติดต่อที่สถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี ที่ตั้งก็อยู่ ตำบล บางเก่า อำเภอ ชะอำ จังหวัด เพชรบุรี หรือมาติดต่อโดยตรงที่ธนาคารปุ๋ย ของตำบลท่าตะคร้อ หมู่บ้านหนองรี อำเภอหนองหญ้าปล้อง ของหมอดินอาสา