สวนดุสิตโพล สำรวจดัชนีการเมืองไทยครั้งแรกรบ.ประยุทธ์ 2 จากคะแนนเต็มสิบได้ 4.51 อีสานให้เยอะสุด ต่ำสุดคือใต้ ส่วนประเด็นที่คะแนนแยะสุดคือการปฏิบัติงานฝ่ายค้าน รองมาคือข่าวสารที่เผยแพร่ให้ปชช.รับรู้ คะแนนต่ำสุดคือราคาสินค้าความยากจน วันที่ 1 ก.ย. 62 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยโดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น ทั้งการบริหารงานของรัฐบาล ฝ่ายค้าน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน บทบาทสื่อมวลชนและอื่นๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าการเมืองไทย ดีขึ้น แย่ลง หรือเหมือนเดิม โดยให้คะแนนเต็ม 10 และหาค่าเฉลี่ย ( ) ภาพรวมของการเมืองไทยออกมา ซึ่งในเดือนสิงหาคมนี้ ได้สำรวจดัชนีการเมืองไทยครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลประยุทธ์ 2 แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 และจะดำเนินการสำรวจประชาชนทั่วประเทศทุกเดือนเพื่อเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,438 คน (จำแนกเป็น กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 607 คน 24.90% ภาคกลาง 516 คน 21.16% ภาคเหนือ 352 คน 14.44% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 653 คน 26.78% และภาคใต้ 310 คน 12.72%) ระหว่างวันที่ 26-31 สิงหาคม 2562 สรุปผลได้ ดังนี้ 1. จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ “ดัชนีการเมืองไทย เดือนสิงหาคม 2562” โดยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 25 ประเด็น ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.51 คะแนน 2. ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย โดยจำแนกตามภูมิภาค ดังนี้ 1ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ4.88 2ภาคกลาง4.68 3กรุงเทพมหานคร4.55 4ภาคใต้4.10 5ภาคเหนือ3.81 3. ประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย โดยจำแนกตามรายละเอียด 25 ตัวชี้วัด ดังนี้ ประเด็น “ดัชนีการเมืองไทย”คะแนนเต็ม 10 1การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน5.92 2ข่าวสารที่เผยแพร่จากสื่อต่างๆให้ประชาชนได้รับรู้5.28 3จริยธรรม /วัฒนธรรมของคนในชาติ5.08 4ความสามัคคีของคนในชาติ4.91 5การจัดการศึกษาสำหรับประชาชน4.90 6การดำเนินงานของพรรคการเมืองโดยภาพรวม4.72 7ความมั่นคงของประเทศ /การก่อการร้าย4.70 8ผลงานของนายกรัฐมนตรี4.63 9ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน4.62 10การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า4.60 11การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรอิสระ4.57 12ผลงานของรัฐบาล4.56 13การบริหารประเทศตามนโยบายที่ประกาศไว้4.49 14สภาพของสังคมโดยรวม4.47 15การแก้ปัญหาต่างๆของรัฐบาลในภาพรวม4.38 16การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล4.23 17ความเป็นอยู่ของประชาชน4.19 18การปฏิบัติตนของนักการเมือง /ความสามัคคีของนักการเมือง4.09 18สภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม4.09 18การแก้ปัญหายาเสพติด4.09 21ค่าครองชีพ /เงินเดือน /ค่าจ้าง /สวัสดิการ4.08 22การแก้ปัญหาคอรัปชั่น4.01 22การแก้ปัญหาการว่างงาน4.01 24การแก้ปัญหาความยากจน3.91 25ราคาสินค้า3.86