(4 เม.ย.65) นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายสมชัย สุรกาญจน์กุล ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร (กกต.ทถ.กทม.) ร่วมแถลงผลการรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกทม. เขตดินแดง ปลัดกรุงเทพมหานคร แถลงผลการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม - 4 เมษายน 2565 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 31 คน เพศชาย 25 คน หญิง 6 คน อายุสูงสุด 72 ปี และอายุน้อยสุด 43 ปี รายชื่อผู้สมัครฯผู้ว่าฯกทม. เรียงตามหมายเลข ดังนี้ 1. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล 2. พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เบอร์ 2 อิสระ 3. นายสกลธี ภัททิยกุล เบอร์ 3 อิสระ 4. ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เบอร์ 4 พรรคประชาธิปัตย์ 5. นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ เบอร์ 5 อิสระ 6. พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง เบอร์ 6 อิสระ 7. นางสาวรสนา โตสิตระกูล เบอร์ 7 อิสระ 8. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เบอร์ 8 อิสระ 9. นางสาววัชรี วรรณศรี เบอร์ 9 อิสระ 10. ดร.ศุภชัย ตันติคมน์ เบอร์ 10 อิสระ 11. น.ต.ศิธา ทิวารี เบอร์ 11 พรรคไทยสร้างไทย 12. ดร.ประยูร ครองยศ เบอร์ 12 อิสระ 13. นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ เบอร์ 13 อิสระ 14. นายธเนตร วงษา เบอร์ 14 อิสระ 15. พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที เบอร์ 15 อิสระ 16. น.ส.ศศิกานต์ วัฒนจันทร์ เบอร์ 16 อิสระ 17. นายอุเทน ชาติภิญโญ เบอร์ 17 อิสระ 18. นางสาวสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ เบอร์ 18 อิสระ 19. นายไกรเดช บุนนาค เบอร์ 19 อิสระ 20. นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ เบอร์ 20 อิสระ 21. นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ เบอร์ 21 อิสระ 22. นายวรัญชัย โชคชนะ เบอร์ 22 อิสระ 23. นายเฉลิมพล อุตรัตน์ เบอร์ 23 อิสระ 24. นายโฆสิต สุวินิจจิต เบอร์ 24 อิสระ 25. นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ เบอร์ 25 อิสระ 26. พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ เบอร์ 26 อิสระ 27. ดร.ภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ เบอร์ 27 อิสระ 28. นายสราวุธ เบญจกุล เบอร์ 28 อิสระ 29. นายกฤตชัย พยอมแย้ม เบอร์ 29 พรรคประชากรไทย 30. นายพงศา ชูแนม เบอร์ 30 พรรคกรีน 31. นายวิทยา จังกอบพัฒนา เบอร์ 31 อิสระ ส่วนการรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ก. 50 เขต มีผู้สมัครรวมทั้งสิ้น จำนวน 382 คน โดยเขตที่มีผู้สมัครมากสุด จำนวน 10 คน มี 2 เขต ได้แก่ ดุสิต สวนหลวง และเขตที่มีผู้สมัครน้อยสุด จำนวน 6 คน รวม 8 เขต ได้แก่ สัมพันธวงศ์ ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ หนองแขม บางพลัด ดินแดง บางซื่อ คันนายาว โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้สมัครมากที่สุด ทั้งผู้สมัครฯ ผู้ว่าฯกทม. เคยมีผู้สมัครมากสุด 25 คน ครั้งนี้มี 31 คน และผู้สมัครฯ ส.ก. เคยมีผู้สมัครมากสุด 200 กว่าคน ครั้งนี้มี 382 คน โดยจากนี้จะตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร และประกาศรายชื่อผู้สมัครเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน และสามารถยื่นคัดค้านภายใน 3 วัน คือวันที่ 14 เมษายน ที่ กกต.กทม. อาคาร B ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทั้งนี้ ฝากเตือนผู้สมัครในการหาเสียงช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ถึงเวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ด้านนายสมชัย ประธาน กกต.ทถ.กทม. กล่าวถึงข้อห่วงใย 2 เรื่อง คือ การแต่งตั้งผู้แทนผู้สมัครไปประจำที่เลือกตั้งต่างๆ มีได้ 1 คน/ ที่เลือกตั้ง ผู้สมัครต้องส่งรายชื่อมาที่ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ณ ศาลาว่าการกทม. เขตดินแดง ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 รวมถึง เรื่องป้ายหาเสียง ผู้สมัครจะต้องดำเนินการตามที่ ข้อกำหนดในประกาศ กกต.ทถ.กทม. เพื่อไม่เกิดการผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งโทษความผิด