วันที่ 16 ต.ค. 60 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดงานแถลงผลการวิจัยแนวทางขับเคลื่อนแนวพระราชดําริเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน ภายใต้ชื่องาน “ร่วมวิจัยถวายพระองค์” เพื่อสืบสานแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช การรวมกลุ่มเป็นปัจจัยที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างอํานาจต่อรองและการเชื่อมโยงตลาด ตลอดจนแหล่งทุนภายนอก ซึ่งปัจจุบัน พบว่า ในกรณีสหกรณ์การเกษตร ที่มีอยู่กว่า 8,000 แห่ง ได้มีประชาชนที่เป็นสมาชิกกว่า 11 ล้านราย ปริมาณธุรกิจรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมแล้วมากกว่า 16.53 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขณะที่ผู้ผลิตสินค้าโอทอป 31,740 ราย มีสินค้ากว่า 127,100 รายการ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มจํานวนมากที่ไม่ประสบความสําเร็จและต้องการความช่วยเหลือวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยความสนับสนุนของกรมส่งเสริมสหกรณ์กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดําริได้รวบรวมพระราชดําริตลอดจนลงพื้นที่ศึกษาสภาพการพัฒนาในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 ปีจนพบพระอัจฉริยภาพจากการค้นพบแนวปฏิบัติในการนําเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ไปสู่การพัฒนาพื้นที่สู่ความยั่งยืนอย่างเป็นลําดับขั้นตอน 3 ขั้น ได้แก่ครัวเรือนพึ่งตนเอง ชุมชมรวมกลุ่มพึ่งตนเองได้และชุมชนออกสู่ภายนอก นอกจากนี้ยังได้ถอดบทเรียนความสําเร็จเป็น “บันได 7 ขั้นสู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นเครื่องมือสําหรับสมาชิกชุมชนที่จะร่วมกันพัฒนาตนและพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุลและต่อเนื่องบันได 7 ขั้นสู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1.การประเมินความพร้อมของกลุ่ม 2. การสร้างความเข้าใจในสิทธิหน้าที่และประโยชน์ของสมาชิก 3. พัฒนาโมเดลธุรกิจและระบบการจัดการกลุ่มให้ทันสมัย 4. เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต 5. กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทุกขั้นตอนหลักของกลุ่ม 6. ส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อประเมินผลและเพิ่มประสิทธิภาพ และ7. สร้างทักษะการทํางานร่วมกันกับหน่วยงานให้ตรงจุดสําคัญและต่อเนื่อง ด้านสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ไปศึกษาในบริบทชนพื้นเมือง พบว่า กลุ่มชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงและชาวเลมอแกนได้หันไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาตลาดและระบบเงินตรา จากเดิมที่มีการใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียงได้แปรเปลี่ยนไปสู่การสร้างหนี้สินและการบริโภคแบบคนเมือง การวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของชนพื้นเมือง” จึงมุ่งออกแบบแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาชาวเลมอแกนและกะเหรี่ยง สู่วิถีชุมชนพอเพียงพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน อาทิการเรียนรปู้ ัญหาที่เกิด การทําบัญชีครัวเรือน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อเรียกคืนความสมดุลในการหาเลี้ยงชีพ การดูแลสิ่งแวดล้อม และวิถีพื้นเมือง ขณะที่ผลการวิจัยเรื่อง "จากสหกรณ์ทฤษฎีใหม่ผลงานวิจัยตามศาสตร์พระราชา" ของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ก่อให้เกิด "ตัวแบบธุรกิจสหกรณ์และธุรกิจชุมชน" ที่สามารถสร้างพื้นที่เศรษฐกิจแนวใหม่ ซึ่งใส่ใจในการค้าที่เป็นธรรม เปิดให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วม และนําไปสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สามพรานโมเดลและคิชฌกูฏโมเดล จากการเผยแพร่ผลการศึกษาจาก 3 มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนําไปพัฒนา ขยายผล ประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน ตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอุลยเดชพระราชทานไว้เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนไทยสืบไป