อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญของประเทศ เป็นอุตสาหกรรมที่นำรายเข้าประเทศในแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวเขามาเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงัก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.หน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อที่จะสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจสังคมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในขณะที่ยังคงรักษาความงามทางธรรมชาติประเพณีและวัฒนธรรมของสถานที่ท่องเที่ยวได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ยกระดับมาตราฐานการท่องเที่ยวชุมชน สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อพท.ดำเนินงานพัฒนามาตราฐานการท่องเที่ยวไทยสู่ เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria) ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรือ อพท.กล่าวถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ว่า “ อพท.เป็นหน่วยงานที่ทำในเรื่องของการประสานส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษ 6 พื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาพื้นที่พิเศษเชื่อมโยงพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร พื้นที่พิเศษจังหวัดเลย พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง อพท.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เป้าหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยว จัดให้มีธีมในการพัฒนาเ เช่นหมู่เกาะช้างพื้นที่เชื่อมโยงพัทยาและเชียงคาน จ.เลย พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนตอบโจทย์เรื่อง Green destinationTop 100 เป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนในระดับสากล พื้นที่สุโขทัย และสุพรรณบุรีพัฒนาเพื่อเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกหรือที่เรียกว่า ครีเอทีฟ ซิตี้
การท่องเที่ยวชุมชนในอดีต ชุมชนเป็นผู้ถูกใช้พื้นที่ท่องเที่ยวเท่านั้นปัจจุบันชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่การท่องเที่ยวของชุมชนด้วยตนเอง บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนของชุมชนด้วยตนเอง มีการขับเคลื่อนใน 3 มิติ คือเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การนำเรื่องวิถีชีวิตนวิถีวัฒนธรรมมาเป็นตัวขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเราก็พบว่าในเรื่องของวิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรม ยิ่งใช้มันยิ่งงอกงาม การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ทำคนเดียวไม่ได้ต้องมีการเชื่อมโยงกับชุมชนรอบข้างให้ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ทางอพท.พยายามพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวแบบเชื่อมโยงตั้งแต่ปี 2555 มี 14 ชุมชนต้นแบบและ 8 ชุมชนขยายผลและยังทำงานร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวอีก 38 จังหวัด 81ชุมชน ตอนนี้ชุมชนทุกชุมชนมีความพร้อมที่จะรับนักท่องเที่ยว ที่จะกลับเข้ามาท่องเที่ยวหลังการเริ่มคลี่คลายของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปรับมาตราฐานการท่องเทียวเพื่อความปลอดภัยตามข้อกำหนดของ สบค.จัดจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ จัดให้มีการสวมหน้ากาก
การสวมหน้ากากสร้างเอกลักษณ์ชุมชนได้โดยการนำเอกลักษณ์ของชุมชนมาผลิตเป็นหน้ากากสำหรับนักท่องเที่ยว และยังประสานงานกับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำมาตรฐาน โครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety& Health Administration (SHA) หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า SHA สำหรับพื้นที่พิเศษในความดูแลของ อพท.จะอยู่ในหมวดของแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ นำหลักมาตราฐาน SHA มาปรับและทำความเข้าใจกับชุมชนเตรียมความพร้อมให้ชุมชน สำหรับมาตรฐาน SHA ทาง ททท.ได้พัฒนาร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมอนามัย เรื่องความสะอาด การฆ่าเชื้อ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันชุมชนก็มั่นใจด้วยว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน SHA เช่นกัน เป็นการสร่งความมั่นใจให้กับทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชน การลงทะเบียนเพื่อใช้มาตรฐาน SHA มีจำนวนชุมชน 40 ชุมชนจาก 80 ชุมชนที่มีความพร้อมและลงทะเบียนใช้มาตรฐาน SHA ร่วมกับการใช้แอพไทยชนะ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการท่องเที่ยว มีจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ลดการใช้เงินสดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่ในชุมชนใหม่ให้เป็นกิจกรรมที่ต้องมีระยะห่างระหว่างกัน เช่นกิจกรรม DIY ต้องปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมอื่นเช่นการปั่นจักรยานชมชุมชน การเที่ยวชุมชนโดยปกติไม่ใช่การท่องเที่ยวแบบ Mass tourism แต่เป็นการเที่ยวที่มีนักท่องเทียวกลุ่มเล็กๆ เพราะชุมชนมีความจำกัดในเรื่องการรับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว
การท่องเที่ยวชุมชนชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตัวเองปรับตัวรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ New Normal ได้อย่างดี นอกจากเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยวแล้ว อพท.เห็นว่าเรื่องการตลาดนับเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ 6 สมาคมท่องเที่ยว ประกอบด้วยสมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ,สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว,สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว,สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว,สมาคมท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและสมาคมท่องเที่ยวผจญภัย อพท.เน้นการพัฒนาเรื่องกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อตอบโจทย์ตลาด พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวหรือแม้กระทั่งพัฒนานักสื่อความหมายหรือที่เราเรียกว่ามัคคุเทศก์ในพื้นที่ นำองค์ความรู้ของชุมชนมาพัฒนาเป็นกิจกรรมในชุมชนเพื่อให้ไปตอบโจทย์เป้าหมาย และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆคลี่คลายรัฐบาลประกาศให้มีการท่องเที่ยวต่างจังหวัดได้แล้วนั้น อพท.พร้อมนำกิจกรรมการท่องเที่ยวใน 40 ชุมชน พัฒนาเชื่อมโยงเป็นเส้นทางการท่องเที่ยว 20 เส้นทาง ”
“ การท่องเที่ยวในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยวแบบ Mass Tourism เป็นการท่องเที่ยวแบบกลุ่มเล็กๆ ท่องเที่ยวกับครอบครัว ท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อนสนิท เน้นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดธรรมชาติหลีกเลี่ยงในการท่องเที่ยวที่มีคนแออัด ท่องเที่ยวแบบใช้ทรัพยากรในชุมชน ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนเช่นการดำนา ปั้นจักรยานชมสวนมะพร้าว ดื่มกาแฟน้ำมะพร้าว เก็บประสบการณ์การท่องเที่ยวจากกิจกรรมประจำชุมชนเช่นการทำทำพระพิมพ์ที่สุโขทัยหรือการทำชามสังคโลก ทดลองทอผ้าที่น่าน ร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่ดูแลแหล่งอุทยานที่จังหวัดเลย ตอนนี้ชุมชนพร้อมมาก ถึงมากที่สุดในการรอต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อพท.ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิตตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้การท่องเที่ยวในเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น นำเม็ดเงินจากการจัดการท่องเที่ยวกระแสหลักลงมาสู่ชุมชนให้มากขึ้น วันนี้ชุมชนเราก็มีความพร้อม ทางอพท.ทำงานร่วมกับททท., สสปน.และภาคเอกชน เสนอขายแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาตัวเองทั้งในด้านเงินทุนและกิจกรรมการท่องเที่ยว สำหรับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาลเป็นมาตราการที่ช่วยให้การท่องเที่ยวดำเนินต่อไปได้ และหวังว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวแบบปี 2562 จะกลับมา ในวิกฤติย่อมมีโอกาส การชะลอการท่องเที่ยวเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ทำให้สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเองกลับมาสวยงามมากกว่าเดิม การท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด-19 เราต้องเน้นเรื่องการบริหารจัดการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว พยามยามสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าการท่องเที่ยว ยกระดับการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากขึ้น ประเทศไทยไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยวที่ราคาถูกแต่เป็นสถานที่ที่มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีมีคุณภาพ เชิญชวนทุกคนมาท่องเที่ยวเมืองไทย มาหาความสุขกับการท่องเที่ยว เรามาสร้างความสุขผ่านการท่องเที่ยวกันครับ ”
นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้ประเทศแล้วภาคการเกษตรก็มีความสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศเช่นกัน ที่ จ.ศรีษะเกษจังหวัดที่มีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นเยี่ยมของประเทศ เกษตรกรมีปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำ ปัญหาภัยแล้ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 จัดโครงการปฏิรูปสังคมแบบมีส่วนร่วมสานเสวนา รับฟังปัญหาของเกษตรในพื้นที่ บ้านผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีษะเกษ
พลโท พิชัย เข็มทอง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวถึงการลงพื้นที่ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีษะเกษ ในครั้งนี้ว่า “ โครงการในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการเมืองการปกครอง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สุดของการพัฒนาประชาธิปไตยคือเราเริ่มพัฒนาจากประชาชนเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยภาคประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยนำกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ 1 กลุ่ม เข้ามาร่วมการเสวนากัน โดยเริ่มต้นจากข้อตกลงเบื้องต้นว่าเราจะมาผนึกกำลังช่วยกันคิด และดูแลอาชีพของกลุ่ม ทำให้กลุ่มเราเข้มแข็ง ร่วมกันแก้ปัญหาเกี่ยวเรื่องการปลูกข้าวและช่วยกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกินกำลังของพื้นที่ก็จะให้กอ.รมน.จังหวัดเอาปัญหาที่พี่น้องแก้ไม่ได้นำไปประชุมกันที่กอ.รมน.จังหวัด ซึ่งที่จังหวัดมีหน่วยงานหลายส่วนร่วมกันแก้ไข นอกจากหน่วยงานของจังหวัดแล้ว ยังมีหน่วยงานจากสวนกลางที่ได้เข้ามาช่วยเหลือคือสํานักงานวิจัยแห่งชาติหรือวช. ทางวช.จัดทุนการศึกษาสนับสนุนให้สำหรับเด็กๆในพื้นที่ ที่มีความสามารถ เข้าศึกษาในด้านการเกษตร เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาในพื้นที่ น้องๆที่สนใจสามารถมาสมัครเข้าร่วมโครงการของ วช. สำหรับในวันนี้พวกเรามาเปิดใจคุยกัน ทางกรมน.จังหวัดจะเข้ามาช่วยเหลือ ดูแล พี่น้องทุกคน”
นายไพฑูรย์ ฝางคำ ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวผักไหม จ.ศรีษะเกษ กล่าวถึงปัญหาและการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ว่า “ กลุ่มของเราเกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรที่ปลูกข้าวหอมมะลิ เรียนรู้ร่วมกันว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ มีอุปสรรคปัญหาอะไร เราก็ใช้กระบวนการกลุ่มแล้วค่อยๆแก้ปัญหาปัญหาได้ถูกแก้ไปค่อนข้างเยอะ แต่มันก็ยังมีปัญหาใหญ่ๆปัญหาหลักๆที่เราไม่สามารถปรับแก้เอง คือปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการเกษตรแต่เราก็แก้บางส่วนแล้วเหมือนกันก็คือแก้ด้วยการขุดสระประจำไร่นา ทำระบบน้ำเล็กๆประจำไร่นาแต่ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาทั้งระบบใหญ่ๆ ปัญหาเรื่องน้ำในการเกษตรนี้ถือว่าเป็นปัญหาหลัก สภาพของเกษตรกรที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่การทำการเกษตรยังไม่มาก ไม่สามารถนำพื้นที่บางส่วนมาขุดสระเก็บน้ำได้ สระที่มีอยู่ก็ขุดมานานแล้วเกิดการตื้นเขิน เราแจ้งปัญหานี้กับภาครัฐแล้วแต่ได้รับคำชี้แจงว่ายังมีปัญหาไม่สามารถเข้ามาดำเนินการขุดลอกได้ในตอนนี้เพราะติดปัญหาเรื่องการออกแบบแต่ละรูปมันไม่เท่ากัน มีความกว้างและความลึกตื้นมันไม่เท่ากัน ในพื้นที่ยังขาดแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีแต่น้ำฝนที่ใช้ได้ในบางช่วงเท่านั้น สมาชิกของกลุ่มเห็นถึงปัญหา และพร้อมที่จะสละพื้นที่ทำนาบางส่วนใช้ทำสระเก็บน้ำ เพราะรู้ถึงประโยชน์ของการเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ในการทำการเกษตร แต่เกษตรกรส่วนใหญ่โดยทั่วไปยังคิดว่าการขุดสระจะทำให้เสียพื้นที่การทำการเกษตรและไม่เห็นประโยชน์ของการมีน้ำสำรอง การมีบ่อประจำไร่นาจะช่วยเกษตรกรเมื่อฝนไม่ตกชาวนาจะสามารถสูบน้ำจากบ่อมาหล่อเลี่ยงต้นข้าวเพื่อรอน้ำฝน ถ้าไม่มีน้ำฝนข้าวจะได้รับความเสียหาย และเมื่อหมดฤดูทำนา การทีบ่อเก็บน้ำจะช่วยเรื่องปลูกพืชอายุสั้นเช่นพืชผักสวนครัว ทำการเพาะเห็ด ปลูกถั่วเหลือง และมันเทศ เป็นการเสริมรายได้ของเกษตรกร ใน ปัจจุบันสภาพอากาศมันเปลี่ยนไปแล้วเกษตรกรต้องขุดบ่อยอมเสียสละพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นบ่อกักเก็บน้ำ นอกจากจะทำให้มีน้ำใช้ช่วงฝนแล้งยังช่วยปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนเพราะมีสถานที่กักเก็บน้ำ ปัญหาการปลูกข้าวในภาคอีสาน คือการปลูกข้าวที่ไม่มีน้ำคลุมนาจะทำให้มีหญ้ามาขึ้นเป็นจำนวนมากหญ้าเหล่านี้จะมาแย่งอาหารต้นข้าว”
นายไพฑูรย์ ฝางคำ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการหันมาทำเกษตรอินทรีย์ว่า “ เกิดจากการที่เราทำเกษตรเชิงเดี่ยว ทำนาอย่างเดี่ยวซื้อปุ๋ยใส่นา จ้างเขาทำ ปรากฏว่ามันขาดทุน ผมจดบันทึกว่าลงทุนไปเท่าไหร่ทำให้รู้ว่าขาดทุนเท่าไหร่แต่เกษตรกรโดยทั่วไปไม่มีการจดบันทึกไม่รู้ว่าขาดทุนปีละเท่าไหร่ การสรุปบทเรียนจึงทำให้รู้ว่าการขาดทุนเกิดจากการที่เราพึ่งพาภายนอกมากเกินไป ผมก็เริ่มกลับมามองเรื่องการพึงพาตัวเองเริ่มจากการบำรุงรักษาดิน ลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมี ถ้าดินดีเราก็สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีนี่คือจุดเปลี่ยนนะครับและถ้าเราเลี้ยงวัวได้แล้วถ้าเราจะไม่ไปซื้อขี้วัวจากข้างนอก เศษหญ้า เศษฟาง แทนที่จะทิ้งเราก็นำมาเลี้ยงวัว ทำให้มันเกิดการเกื้อกูลกันเราเลี้ยงวัวได้มูลวัวกลับมาทำปุ๋ย ทำให้เราลดต้นทุนลด ลดการพึ่งพาจากภายนอกทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต ในส่วนของศูนย์การเรียนรู้ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวผักไหม คนที่เข้ามาดูงานส่วนใหญ่ก็จะนำแนวคิดการเกษตรอินทรีย์ที่เป็นเกษตรพึ่งพากลับไปทำ การเข้ามาดูงานของกลุ่มต่างๆจะมีหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในการเข้ามาดูงาน มีวิทยากร และนักวิชาการเข้ามาร่วมให้ความรู้ หลังจากได้รับความรู้แล้วก็มาดูของจริงที่ศูนย์เรียนรู้ เพื่อตอกย้ำว่ามันทำได้จริง ตัวอย่างเช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจะเน้นสิ่งของที่มีในบ้านเช่นพวกเศษผัก เศษผลไม้ต่างๆนำมาหมัก สิ่งที่เราซื้อภายนอกคือกากน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารจุลินทรีย์ คนที่เข้ามาดูงานเห็นประโยชน์ก็สามารถกลับไปทำที่บ้านได้”
“การปรับเปลี่ยนให้ชาวบ้านหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ นั้น ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับชาวบ้านว่า ทำเกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่า จะทำให้เกษตรกรเข้ามาทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น พร้อมสนับสนุนให้ผู้บริโภคใช้สินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น ก็จะส่งผลให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์มากขึ้นด้วย การทำเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรที่ยั่งยืนส่งผลดี ต่อเกษตรกรเองและผู้บริโภค และที่สำคัญคือส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ”
ตัวอย่างการทำเกษตรอินทรีย์และการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ข้าวผักไหมนับเป็นตัวอย่างของการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อชุมชนและตนเอง จากวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวผักไหม จ.ศรีษะเกษ ยังมีกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมอาชีพแบบวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวิถีการประกอบอาชีพที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน
นายมูหัมมัดซัมซูดิน เซ็นมาด หรือ แบดินประธานกลุ่มชันโรงบูโด ยี่งอ กล่าวถึงความสำเร็จของกลุ่มว่า “ชันโรงเป็นแมลงเศรษฐกิจที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่มีความเป็นมิตรกับชาวสวนมากกว่าเพราะชันโรงไม่มีเหล็กใน และยังช่วยชาวสวนในการผสมเกสรสร้างสมดุลในพื้นที่ พื้นที่ยี่งพอมีความหลากหลายเรื่องพันธ์ไม้ ดินความอุดมสมบรูณ์ ความหลากหลายของพันธ์ไม้ส่งผลให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ ชันโรงในพื้นที่สามารถผลิตน้ำผึ้งที่มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพาราที่ปลูกผสมกับกาแฟ เมื่อกาแฟแตกใบอ่อนผึ้งจะเข้ามาเก็บน้ำย้อยจากใบอ่อน และช่วยผสมเกสรให้ดอกกาแฟ และเมื่อกาแฟออกดอกชันโรงก็จะมาเก็บน้ำหวานจากดอกกาแฟ ด้วยความหลากหลายของต้นไม้หลายชนิดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในหมู่บ้าน ทำให้ชันโรงสามารถเก็บความหวานจากพืชหลากหลาย สร้างเอกลักษณ์ให้กับน้ำผึ้ง เกิดการเกื้อกูลกันระหว่างพืชและสัตว์ในพื้นที่ น้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้คนในชุมชน น้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงมีราคาสูงกว่าน้ำน้ำผึ้งทั่วไป เพราะที่มีความเข็มข้น มีกลิ่นเฉพาะตัว นอกจากการเลี้ยงชันโรงแล้วในอนาคตจะพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป”
นายฮาฟิช เจะนะ สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงบูโด อ.ยี่งอ จ.นราธิวาสกล่าวว่า “ ในฐานะเยาวชนในพื้นที่ ได้ช่วยเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักการเลี้ยงชันโรงของกลุ่ม และช่วยเรื่องการทำตลาดออนไลน์ให้กับสินค้าน้ำผึ้งชันโรงที่เป็นสินค้า OTOPของหมู่บ้าน ประสานงานกับกลุ่มๆต่างๆที่สนใจเข้ามาดูงานที่กลุ่ม”
นายอาหมัด สาหีม สมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงชันโรงบูโด อ.ยี่งอ จ.นราธิวาสกล่าวถึงความสำเร็จว่า “ตั้งแต่ปี 2562 ที่แบดินได้เริ่มเลี้ยงชันโรงในพื้นที่ ก็มีหน่วยงานราชการต่างๆเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน เกิดความขยายตัวของกลุ่มจากเริ่มที่ 5 คน ปัจจุบันมามีสมาชิกมากกว่า 40 คน ชันโรงนอกจากสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่แล้ว ชันโรงยังเป็นแมลงที่เป็นตัวบ่งชี้ความสมบรูณ์ของพื้นที่ เพราะชันโรงจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ที่ มีสารเคมี แม้แต่ฝุ่นควันเพียงเล็กน้อยชันโรงก็ไม่สามารถอยู่ได้แล้ว นอกจากนั้นชันโรงยังช่วยเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ในการผสมเกสร ทำให้ผลไม่ออกดอกติดผลสร้างรายได้ให้ประชาชน”
การรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาและลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกใช้ชีวิตแบบเกื้อกูลกับธรรมชาติ ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยว การทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นวิถีที่สร้างความสุขและความสามัคคีให้ชุมชนยังส่งผลถึงภาพรวมเมื่อประชาชนสามัคคี มีความสุขประเทศก็เป็นประเทศที่มั่นคง มีความสงบสุขเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจากรายการเดินหน้าปฏิรูป ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง5 ทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี เวลา 21.00-22.00 น.