แสงไทย เค้าภูไทย

ไทยกู้เพิ่มอีกแล้วโปะงบประมาณขาดดุล ยอดหนี้ทะลุเพดานก่อหนี้เก่า แต่เขยิบเพดานหนี ขณะที่มีดำริจะซื้อเรือดำน้ำลำใหม่ฝืนพระราชดำรัส ร.9 ที่ว่าเอามาดำในอ่าวไม่ได้หัวปักเลน เพราะตื้น

ที่ประชุมครม. 27 ก.ย.65 มีมติอนุมัติก่อหนี้ใหม่ในปีงบประมาณ 2566 วงเงิน  1,052,785 ล้าน

หนี้เดิม วงเงิน 1,735,962.93 ล้านบาท  

เพิ่มยอดหนี้ทั้งหมด คิดเป็น 60.43% ของจีดีพี เกินเพดานหนี้เก่าที่ตั้งกรอบไว้ไม่เกิน 60% ต่อ GDP

แต่เพราะขาดดุลงบประมาณมาก รายได้ไม่พอใช้จ่าย จึงขยับเพดานหนี้เป็น 70% ต่อ GDP

งบประมาณที่นำไปใช้ส่วนใหญ่เป็นด้านเศรษฐกิจโครงสร้าง ที่มากที่สุดคือการคมนาคมโดยเฉพาะรถไฟฟ้า

งบประมาณด้านกลาโหมปี 2566  มีถึง  197,292 แสนล้านบาท มากเป็นอันดับที่ 4 ของกระทรวงและหน่วยงานรัฐทั้งหมด

ขณะที่กำลังพูดกันเรื่องเงินกู้และหนี้สาธารณะ ก็มีเสียงจากกองทัพเรือออกมาว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำลำที่ 3 ทั้งๆที่เรือดำน้ำลำที่ 1-2  ซื้อจากจีนยังไม่มีเครื่องยนต์

ซื้อมาหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตไม่นาน

ทั้งๆที่ ก่อนหน้านี้ ไม่กล้าซื้อ ด้วยจำนวนต่อเหตุผลตามในพระราชดำรัสของล้นเกล้าฯ ร.9

พระราชดำรัสเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ที่พระราชทานแก่คณะรัฐมนตรี และผู้บัญชาการเหล่าทัพ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2550 ว่า

"เราสร้างเรือ เราสร้างเรือให้พอเพียง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง นั่นน่ะ มันไม่พอเพียง มันเล็กเกินไป ยังเล็กเกินไป ก็อาจจะ ควรจะใหญ่กว่าหน่อย แต่ถ้าใหญ่เกินไป ไม่พอเพียง ถ้าเล็กเกินไปก็ไม่พอเพียง ที่เขาจะทำน่ะ เรือที่เขาจะทำ เรือดำน้ำ เรือดำน้ำดำลงไป ไปปักเลนเลย เดี๋ยวเขาโกรธเอา ว่าเรือแล่นๆ ไป จะลงไป ดำน้ำ ไม่พอ ใครมา เครื่องบินเห็นแจ๋วเลย ต้องไปจมเลนถึงจะไม่เห็น แล่นๆ ไป ปักเลน ถ้าอยากไปที่ที่ลึกก็ไปอยู่นอกเส้น ก็รู้สึกว้าเหว่ เรือดูแลใกล้ฝั่งนี่ดีกว่า แต่ลำที่เราทำเราสร้าง ก็ใช้ได้ดีแล้ว แต่ที่ควรจะสร้างต่อไปให้ใหญ่กว่านี้หน่อย แต่ตอนนี้คงไม่มีเงินแล้ว ต้องใหญ่กว่าหน่อย เพราะถ้าไม่ใหญ่พอจะไม่สามารถที่จะปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ...(เปิดดูในกูเกิล คีย์ “ร.9 เรือดำน้ำ”)

ก่อนหน้านี้ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กองทัพใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์คือเรื่อง “ภัยคุกคาม” และความคุ้มค่าในการใช้งาน

ไม่ใช่พิจารณาจากอาวุธที่เพื่อนบ้านมี

“เป็นตรรกะที่มั่วมาก เพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำแล้วเราต้องมี ในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นั้น หลักการทางทหารจะพิจารณาเรื่องภัยคุกคามเป็นอันดับแรก คือ ดูว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เพื่อนบ้านมารุกรานเรา ณ ตอนนี้ตอบได้เลยว่าไม่มี และต่อให้ประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำสัก 100 ลำ ก็ทำอะไรเราไม่ได้ เพราะหลักการของเรือดำน้ำคือการปฏิบัติการใต้ผิวน้ำ

แต่อ่าวไทยมันตื้น จะส่งเรือดำน้ำเข้ามาสอดแนมหรือโจมตีไทยมันทำไม่ได้

แสนยานุภาพในการรบไม่ได้หมายความว่าเพื่อนบ้านมีอาวุธอะไรแล้วเราต้องมีเหมือนเขา จะเห็นได้ว่าไทยมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งช่วยขยายพื้นที่ลาดตระเวนและยืดระยะในการปฏิบัติการทางทะเลให้ แต่มาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ไม่เห็นจะซื้อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ตามไทยเลย คือ อำนาจต่อรองระหว่างประเทศมันไม่ใช่แค่เรามีอาวุธอะไร” 

ครั้งนั้น ก็พากันเห็นคล้อยตามพระราชดำรัส เหตุจากทะเลอ่าวไทยนั้นตื้น อยู่บนเครื่องบินมองลงไปก็เห็นผืนดิน(เลน)ก้นทะเลแล้ว  ด้วยเหตุผลนี้ ก็เลยไม่มีการซื้อเรือดำน้ำกันแต่นั้นมา

แต่พอหลังเสด็จสวรรคตไม่นาน   ก็มีการซื้อเรือดำน้ำกันถึง 2 ลำรวดจากจีน ทำให้เกิดพิรุธทุจริต

เหตุด้วยนายทหารที่มาเจรจาเรื่องเรือดำน้ำของจีนชื่อนายพลฝาง เฟิงฮุย ประธานเสนาธิการร่วมและกรรมาธิการทหารกลางของจีนเยือนไทย

หลังกลับจากไทยนาพลฝางถูกสอบสวนเรื่องทุจริตและถูกปลดจากตำแหน่ง ถูกดำเนินคดีและยึดทรัพย์ ส่วนนายพลจาง หยาง ที่ถูกกล่าวหาอีกคน ชิงฆ่าตัวตายที่บ้านพัก

นี่คือตำนานการซื้อเรือดำน้ำที่ดูจะขัดกับพระราชดำรัสของล้นเกล้าฯ ร.9 รวมถึงความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ ที่กริ่งเกรงกับความทุจริต

แต่เพราะมีนายกฯเป็นทหาร คุมกลาโหม ก็เลยมองว่า ทำได้ ทำได้ และทำได้